วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ

......โดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์มีการรับรู้ที่ต่างกัน บางคนรับรู้ได้ดีจากภาพ บางคนรับรู้ได้ดีด้วยเสียง บางคนรับรู้ได้ดีด้วยตัวหนังสือ บางคนก็รับรู้ได้ดีด้วยของจริง เป็นต้น เราจึงต้องรู้หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
......การรับรู้
......คือ การสัมผัสที่มีความหมายอันเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา – การมองเห็น หู – ได้ยินเสียง จมูก – การรับกลิ่น ปาก – การรับรส ร่ายกาย – ความรู้สึก เราจะต้องรู้ว่าสิ่งนั่นคืออะไรมาก่อน เช่น รู้ว่ารสเปี้ยวมาจากมะม่วง รู้ว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นของดอกไม้ เป็นต้น
___1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
______1.1 เร้าความสนใจภายนอก
________1.1.1 ความเข้ม
________1.1.2 ขนาด
________1.1.3 ความแปลกใหม่และสิ่งที่มีลักษณะตัดกัน
________1.1.4 ตำแหน่งที่ตั้ง
________1.1.5 การเคลื่อนไหว
________1.1.6 ความเป็นหนึ่งเดียว
________1.1.7 ระยะทาง
________1.1.8 ความคงทน
________1.1.9 การทำซ้ำ
_____1.2 ปัจจัยที่เร้าความสนใจภายใน
________1.2.1 ความตั้งใจ
________1.2.2 แรงขับ
________1.2.3 อารมณ์ หรือคุณภาพของจิต
________1.2.4 ความสนใจ
________1.2.5 สติปัญญา
___2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยา
ทษฎีของกลุ่ม เกสตอลท์ ซึ่งมีแนวคิดว่าองค์ประกอบสำคัญของภาพหรือสิ่งเร้าที่รับรู้โดยทั่วไปมี 2 ส่วน คือภาพและพื้น
______2.1 หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ห่างกัน
______2.2 หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่าง
______2.3 หลักการต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฏเห็นอย่างซ้ำๆ เหมือนกันในทิศทางเดียวกัน
______2.4 หลักของความประสาน เป็นการเพิ่มสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ สิ่งผิดปรกติ หรือวัตถุที่หายไปจะกระตุ้นความสนใจใด้ดีความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัย
......การเรียนรู้
......คือ กระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม อันเป็นผลจากประสบการณ์ ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ เช่น รู้พิษของยา ความเหนื่อยล้า เป็นต้น
ประเภทของการเรียนรู้
___1. การเรียนรู้ตามความเข้าใจ
___2. การเรียนรู้ด้านเจตคติ หรือด้านอารมณ์ หรือด้านจิตใจ
___3. การเรียนรู้ด้านกล้ามเนื้อหรือประสาทสัมผัส
จิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์วัยต่างๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิยันแก่ชราทำให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์แต่ละวัยวความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกัน
___วัยเด็ก
อายุ 2 – 6 ขวบ วัยนี้ชอบจำในสิ่งที่แปลกๆ
___วัยเด็กตอนกลาง
อายุ 7 – 12 ขวบ พอใจกับสิ่งใหม่ๆ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ ประเภทนิทาน ชอบทำอะไรอย่างอิสระ
___วัยรุ่น
อายุ 13 – 19 ปี ชอบเรียนแบบ จะชอบรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ความทันสมัย วัยรุ่นจะมีความสนใจเพศตรงข้าม
___วัยผู้ใหญ่
อายุ 20 – 40 ปี โดยทั่วไปสนใจกับรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ การแต่งกาย สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม พออายุ 40 เริ่มสนใจเรื่องสุขภาพ